วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

             ประวัติโดราเอม่อน


        โดราเอมอนเกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 ที่โรงงานหุ่นยนต์ มีตัวสีเหลืองแต่แล้ว วันหนึ่งถูกหนูกัดหู จึงเปลี่ยนสีอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน โดราเอมอนก็กลัวหนูตั้งแต่นั้นมา   โดราเอมอนเป็นหุ่นยนต์จากโลกอนาคต ชื่อโดราเอมอน มาจากคำว่า "โดราเนโกะ" แปลว่า แมวหลงทาง!! เอมอน เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนโดราเอมอนยังมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ดังดอง เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2655 หนัก 129.3 กก. สูง 129.3 ซม. กระโดดได้สูง 129.3 ซม. และยังวิ่งได้เร็วถึง 129.3 กม. / ชม. โดราเอมอนรูปร่างเหมือนแมวตัวอ้วนกลมตัวหนึ่งถูกส่งมาเพื่อคอยช่วยเหลือโนบิตะ ของโปรดของ โดราเอมอนคือ ขนมแป้งทอด หรือ Doriyaki หนูเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของโดราเอมอน เพราะหูของโดราเอมอนถูกหนูกัดขาด โดราเอมอน มีกระเป๋า 4 มิติ ที่เชื่อมโยงระหว่างโลกปัจจุบันและอนาคตได้ ในนั้นเต็มไปด้วยของวิเศษมากมาย ซึ่งจริงๆแล้วเป็นแค่ของเล่น ของเด็กๆ ในอนาคตเท่านั้นเอง ของวิเศษเหล่านี้ ช่วยให้ ชีวิตประจำวันของโนบิตะดีขึ้น ไม่ต้องถูกรังแก แต่โนบิตะมักจะใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ และก็มักจะหาเรื่องวุ่นวายมาให้โดราเอมอนบ่อยๆด้วย ทำให้เกิดความวุ่นวายโกลาหล เพื่อนๆของโนบิตะก็เป็นเพื่อนกับโดราเอมอนเหมือนกัน ทุกคนรักโดราเอมอนและมักจะมาเล่นสนุกกับ เครื่องมือต่างๆที่โดราเอมอนเอาออกมาใช้เสมอ
                          ประวัติผู้แต่งโดเรมอน
       หลายๆคน อาจจะเคยเหนแต่ผลงานของโดเรมอน แต่เรายังไม่เคยทราบ ผู้ที่แต่งเรื่องโดเรมอนขึ้นมา หรือบางคนก็ไม่เคยรู้เลยว่าเป็นใคร นึกว่า โดเรมอนเป็นตำนานของญี่ปุ่นซะอีก เรามาดูกันเลย ว่า ผู้แต่งโดเรมอนคือ     ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ
   อ.ฟุจิโมโตะ ฮิโรชิ เกิดเมื่อ 1 ธันวาคม 1933 ที่เมืองทากาโอกะ จ.โทยามะ ชีวิตการเป็นนักเขียนการ์ตูนของท่าน เริ่มต้นเมื่อปี 1944 อาบิโกะ โมโตโอะ เด็กวัยรุ่นๆ เดียวกับท่าน ย้ายมาอยู่ที่เมืองทากาโอกะทั้งคู่ได้รู้จักกันจากการเรียนชั้นเดียวกัน ตอนเรียนป.5 ในปี 1946 ทั้งคู่ได้เลือกเรียนในโรงเรียนช่าง เทคนิคด้วยกัน
ในปี 1947 ทั้งคู่ได้อ่านการ์ตูนเรื่อง ชินทาการะจิมะ” (เกาะมหาสมบัติใหม่) ของ อ.โอซามุ เทะซึกะ นั่นเป็นการ์ตูนที่ทำให้ทั้งคู่เกิดแรงบันดาลใจอยากเป็นนักเขียนการ์ตูน
ทั้งคู่เริ่มเขียนการ์ตูนออกมา และพิมพ์จำหน่ายในละแวกบ้านเกิด ทั้งคู่เริ่มเขียนการ์ตูนมาเรื่อย เริ่มสะสมชื่อเสียงมาทีละน้อย เมื่อเริ่มมีคนรู้จักทั้งคู่ก็ย้าย ออกจาก โทยามะ มาอยู่ ในเมืองใหญ่อย่างเกียวโต
ปี 1963 ทั้งคู่ได้ร่วมกับนักเขียนไฟแรงอีกหลายคนในยุคนั้น ร่วมกันสร้าง “STUDIO ZERO” ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ รับทำงาน ด้านอะนิเมขึ้นมา แต่ทั้งอ.ฟุจิโมโตะ กับ อ.อาบิโกะ
ก็ยังคงมีงานหนังสือการ์ตูนออกมาเรื่อยๆ ในหลายๆนามปากกา อาทิ อาชิสึกะ ฟุจิโอะ ในปี 1953 และชื่อ ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ นั้นเริ่มใช้ในปี 1954 โดยแบ่งเป็น FUJIKO-F. FUJIO หมายถึง อ.ฟุจิโมโตะ ฮิโรช ิ และ FUJIKO-FUJIO A หมายถึง อ.อาบิโกะ โมโตโอะ
ในปี 1970 ทั้งคู่ก็ร่วมกันสร้างงานประวัติศาสตร์ โดราเอมอนขึ้นมา ยุครุ่งเรืองก็ดำเนินเรื่อยมา
ในปี 1988 ทั้งคู่ก็ยุติการใช้ชื่อ ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ และ อ.ฟุจิโมโตะ ก็ยุติบทบาทการเป็นนักเขียนการ์ตูนนับแต่ นั้นมา

อ.ฟุจิโมโตะ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 23 กันยายน1996 ขณะอายุ 62 ปี

ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คน และมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลักดังนี้
โดราเอมอน

หุ่นยนต์แมวจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมาก เพราะเคยโดนหนูแทะหู จนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิ เนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะโดราเอมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดราเอมอนจึงชอบเป็นพิเศษ จะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า "แรคคูน" หรือ "ทานุกิ" (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ฉันทนา ธาราจันทร์[14])
โนบิตะ (โนบิ โนบิตะ)

เด็กชายที่ไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียน กีฬา นิสัยขี้เกียจ และชอบนอนกลางวัน สอบก็ได้ 0 คะแนนทุกครั้ง แต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้าย และเป็นคนมีน้ำใจ ชอบชิซุกะมานาน และมักถูกไจแอนท์กับซึเนะโอะแกล้งประจำ แต่ก็เปลี่ยนเป็นคนละคนเมื่อโดราเอมอนไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว จะมีอารมณ์ไม่พอใจเมื่อเดคิสุงิอยู่ใกล้กับซิซุกะ เพราะคิดว่าซิซุกะแอบชอบเดคิสุงิ แต่ถึงอย่างไรตอนอนาคตก็ได้แต่งงานกับโนบิตะอยู่ดี                                                                                               
ชิซุกะ (มินาโมโต้ ชิซุกะ)
เด็กสาวน้ำใจดี เป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมากและชอบเล่นเปียโน เป็นเด็กสาวที่โนบิตะแอบชอบ และชอบกินสปาเก็ตตี้และมันเผาเป็นพิเศษ อนาคตเธอก็ได้แต่งงานกับโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ศรีอาภา เรือนนาค
ซูเนโอะ (โฮเนคาวะ ซึเนะโอะ)

เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดี และเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ ชอบพูดยกยอ และขี้ประจบ ชอบเอาของมาอวดให้พวกๆอิจฉาแต่ก็พร้อมที่จะเจออันตรายกับพวกเพื่อนๆได้ในตอนที่เป็นภาพยนตร์ มักจะวางแผนกับไจแอนท์เพื่อแกล้งโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันวาส
ไจแอนท์ (โกดะ ทาเคชิ)
เด็กอ้วน หัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำ แต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ (อยากขอร้องให้ช่วย) ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหน แต่บางครั้งเสียงไม่เอาไหนของเขาก็ช่วยทำให้สถานการณ์ที่คับขันให้คลี่คลายได้ เพราะคงไม่มีใครคนไหนที่สามารถทนเสียงของเขาได้ และเป็นคนที่รักเพื่อนพ้องมาก (พากย์เสียงภาษาไทยโดย นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์
โดเรมี
หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เป็นน้องสาวของโดราเอมอนสวยน่ารัก แต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดราเอมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น จะปรากฏตัวเมื่อโดราเอมอนเรียกขอความช่วยเหลือ หรือ สถานการณ์ที่โดราเอมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดราเอมอนไม่อยู่ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส)



                         โดราเอมอนกับประเทศไทย

                   หนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ที่มีการตีพิมพ์ในไทย ชุดพิเศษ เล่ม 7
ด้านหลังแฮนด์บิลภาพยนตร์โดเรม่อน ตอนผจญไดโนเสาร์
การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปีพ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมาสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกัน แต่เลือกใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่าย จากเดือนละเล่มในช่วงต้น ก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่ม จนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์ และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของฟุจิโกะ ฟุจิโอะที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี
หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เห็นความนิยมของโดราเอมอน จึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง" ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ
สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือสยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบัน และใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดรามอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจากประเทศฮ่องกงมาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ
ในปีพ.ศ. 2525 ทางไชโยภาพยนตร์ได้มีการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกัน คือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ และโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทางช่อง 9 ก็ได้มีการออกอากาศโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน ในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2525)[32] ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย (นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา[33] ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้นก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะ และฉายตอนใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี

นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันดีถึงประเทศนี้แล้ว จนถึงกับมีการทำเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นไทย โดยฝีมือคนไทย ทางบริษัทไร้ท์ บิยอนด์ทำการ์ตูนไทยโดราเอมอน ชุด "นิทานของโนบิตะ" โดราเอมอนชอบโดรายากิ ส่วนโนบิตะชอบเรียน ชอบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และชอบอ่านนิทานสนุกสนาน ซึ่งออกจำหน่ายในรุปแบบ วีซีดีและดี